เมื่อทำงานเกี่ยวกับการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มักจะเจอคำว่า RGB และ CMYK แต่ความหมายของมันคืออะไรกันนะ
RGB และ CMYK ก็คือระบบการแทนค่าสีที่ใช้ในงานกราฟิก แบ่งเป็น 2 โหมด คือ RGB และ CMYK ซึ่งเหมาะกับงานคนละประเภทกัน
RGB หรือ สีของแสง (Colored Light)
RGB เป็นสีที่เกิดจากความแตกต่างของความยาวคลื่นแสงที่เรามองเห็น ทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง เรียกว่า สีแบบบวก (Additive Color) ซึ่งเป็นสีที่เกิดจาก การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) หรือ ระบบสี RGB อันเป็นที่มาสู่แนวคิดของการผสมแสงสีหลัก 3 สีเข้าด้วยกัน คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue)
การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกันจะทำให้เกิดสีจำนวนมาก โดยขึ้นกับสัดส่วนความเข้มของสีหลักแต่ละสีที่มีค่าให้ตั้งแต่ 0-255 (ในระบบสีที่ใช้ข้อมูลแบบ 8 บิต) และเมื่อนำมารวมกันที่ความเข้มสูงสุดก็จะได้สีขาว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง ซึ่งโดยปกติจะนำไปใช้ในจอภาพแบบ CRT (Cathode ray tube) รวมไปถึง สีแสงในจอมอนิเตอร์ กล้องดิจิตอล การทำงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ พรีเซนเทชันที่ต้องใช้โปรเจ็กเตอร์ เป็นต้น นักออกแบบงานเหล่านี้จึงจะต้องเตรียมภาพในโหมด RGB (RGB mode) ทั้งนี้ในการใช้งานระบบสี RGB ยังมีการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไปที่นิยมใช้งานได้แต่ RGBCIE และ RGBNTSC
CMYK หรือ สีของสาร (Colored Pigment)
CMYK เป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจากวัตถุ อันเกิดจากการที่ลำแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่างๆ แล้วคลืนแสงบางส่วนจะดูดกลืนไว้ ในขณะเดียวกับจะสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) การผสมสีทั้ง 4 นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่างๆ อันเป็นที่มาสู่แนวคิดของระบบการพิมพ์ โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของสีหลักเพียง 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแกมแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) สีดำ (Key หรือ Black)
ตามทฤษฎีสีแล้ว เมื่อผสมสีทั้ง 3 คือ สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแกมแดง (Magenta) และ สีเหลือง (Yellow) ก็เพียงพอในการสร้างสีอื่นๆ และเมื่อผสมสีทั้ง 3 นี้ที่ความเข้มสูงสุดก็จะได้สีดำ (Black) แต่เนื่องจากเนื้อสีที่ได้ออกมามักไม่บริสุทธิ์ ทำให้ในทางปฏิบัติต้องเพิ่มสีดำ เพื่อให้ได้สีผลลัพธ์ที่มีความอิ่มตัว ประหยัดหมึกพิมพ์ รวมทั้งได้สีดำที่ดำสนิทจริงๆ
สีแบบลบจะใช้ในการทำงานศิลปะ เป็นโหมดสีที่เหมาะสำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์ งานที่ต้องการความละเอียดสูง และงานที่ต้องการได้สีที่ไม่ผิดเพี้ยน ได้แก่ การผสมสีในการพิมพ์ งานจิตรกรรม การจัดโครงสีในงานออกแบบ
แล้วโหมดสี Index ล่ะ คืออะไร?
Indexed Color เป็นระบบจัดเก็บสี โดยกำหนดให้ 1 ภาพ จะมีความละเอียดของสีไม่เกิน 256 สีเท่านั้น เป็นโหมดสีที่เหมาะสำหรับการทำภาพบน web โดยที่ทุกครั้งที่แปลงภาพจากโหมดสีอื่นๆ มาเป็น Index โปรแกรมจะทำการสร้างตารางดัชนี ( Indexed Color ) ขึ้นมาจัดเก็บสีในภาพ และจะทำการตรวจสอบรหัสสีที่ได้ โดยถ้าค่าสีใดอยู่นอกเหนือจาก 256 ในตารางดัชนีสี จะถูกแปลงเป็นสีจากสีทั้ง 256 สีที่เก็บเอาไว้ใกล้เคียงให้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นภาพที่ได้จะให้ความสวยงามที่ใกล้เคียงของเดิม และทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงด้วย
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากระบบการพิมพ์แบบแยกสี โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของสีหลักเพียง4 สี คือ ฟ้า (Cyan) สีม่วงแกมแดง (Magenta) เหลือง (Yellow) และดำ (Black) ซึ่งเมื่อพิมพ์สีเหล่านี้ซ้อนกันก็จะได้ภาพบนหน้ากระดาษตามต้นฉบับ ค่าของสีหลักในโมเดลนี้ มักอยู่ในรูปเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหมึกพิมพ์ตั้งแต่ 0-100%
จุดด้อยของระบบสี Indexed Color คือการมีสีใช้งานเพียง 256 เฉดสี จึงทำให้ไม่สามารถเก็บรายละเอียดของสีเอาไว้ได้ครบถ้วน สำหรับข้อดี คือ ภาพในระบบสี Indexed Color นั้นถึงจะมีสีเพียง 256 สีแต่ก็ดูไม่แตกต่างจากภาพในระบบสีที่มีสีมากๆ เช่น RGB หรือ CMYK ในบางภาพอาจไม่สามารถแยกความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ และด้วยที่มีสีใช้งานเพียง 256 สีจึงทำให้ภาพมีขนาดเล็กมาก จึงเหมาะสำหรับงาน Web Graphic , Design Interface Program หรือ Multimedia ที่ต้องการงานขนาดเล็กแต่มีรายละเอียดของภาพที่สวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น